ความหมายขององค์ความรู้ และความสำคัญ
เรียบเรียงโดย splashvip
ความรู้ คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความสามารถในการรู้บางอย่างนี้เป็นสิ่งสนใจหลักของวิชาปรัชญาและมีสาขาที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่า “ญาณวิทยา” ความรู้ในทางปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่ทราบกันในกลุ่มคน และในความหมายนี้เองที่ความรู้นั้นถูกปรับเปลี่ยนและจัดการในหลาย ๆ แบบ เมื่อได้นำ ความว่า องค์ + ความรู้ ก็จะได้ความหมายตามด้านล่างเลย
องค์ความรู้ หมายถึงความรู้ที่อยู่ในศาสตร์ ได้แก่ ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ ที่อยู่ในตำรา อยู่ในห้องสมุด ซึ่งอยู่ภายนอกตัวบุคคล ที่สั่งสมกันมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ โครงสร้างความรู้ หมายถึง ความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งไม่ได้ลอกเลียนมาจากองค์ความรู้ แต่ผู้เรียนต้องสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อพัฒนาโครงสร้างความรู้ต่อไปก็สามารถสร้างผลงานเป็นองค์ความรู้ให้คนอื่นค้นคว้าได้
องค์ความรู้ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้
ประเภทขององค์ความรู้
- องค์ความรู้ที่สามารถอธิบายได้ เป็นองค์ความรู้ซึ่งทำความเข้าใจได้จากการฟัง การอธิบาย การอ่าน และนำไปใช้ปฏิบัติ โดยจัดไว้อย่างมีแบบแผนมีโครงสร้างและอธิบายกระบวนการวิธี ขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้ได้
- องค์ความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้ หรืออธิบายได้ยาก เป็นองค์ความรู้ที่อธิบายได้ยากหรือในบางครั้งไม่สามารถอธิบายว่าเกิดความรู้ เหล่านั้นได้อย่างไร ไม่มีแบบแผน โครงสร้างแน่ชัด มักเกิดขึ้นกับตัวบุคคล ผลของการถ่ายทอดขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายทอดและผู้รับเป็นสำคัญ
การจัดการองค์ความรู้
การจัดการองค์ความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดโดยที่ ความรู้มี 2 ประเภท คือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่า เป็นความรู้แบบนามธรรม
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎีคู่มือต่างๆและบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
แหล่งกำเนิดขององค์ความรู้
- ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลอื่น
- ความรู้เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
- ความรู้ที่ได้จากการวิจัยทดลอง
- ความรู้จากการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ
- ความรู้ที่มีปรากฏอยู่ในแหล่งความรู้ภายนอกองค์กรและองค์กรได้นำมาใช้
เครื่องมือในการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลักๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้าย คือ การเรียนรู้และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรเครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้
- ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP)
- การใช้ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Mentoring Programs)
- การทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review-AAR)
- การเสวนา (Dialogue)
- ฐานความรู้บทเรียนและความส าเร็จ (Lesson Learned and Best Practices Databases)
- แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence-CoE)
- การเล่าเรื่อง (Story Telling)
- เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
- เวที ถาม-ตอบ (Forum)
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/องค์ความรู้